วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

นิราศนรินทร์คำโคลง

ความเป็นมาของนิราศนรินทร์คำโคลง
              นิราศนรินทร์คำโคลง แต่งขึ้นโดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) มหาดเล็กหุ้มแพร รับราชการวังหน้าในสมัยรัชกาลที่ ๒ นายนรินทรธิเบศร์แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อคราวตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถลางและชุมพร โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป นิราศเรื่องนี้นับว่าเป็นนิราศที่มีชื่อเสียงเรื่องหนึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ เนื่องจากมีสำนวนโวหารไพเราะและมีคุณค่าในด้านวรรณศิลป์ จึงได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของนิราศคำโคลง เหมาะสำหรับการนำไปเป็นแบบอย่างในการประพันธ์โคลงที่มีเนื้อหาเป็น อ่านต่อ...

ลักษณะคำประพันธ์

             นิราศนรินทร์คำโคลง แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทร่ายสุภาพ จำนวน ๑ บท และโคลงสี่สุภาพจำนวน ๑๔๓ บท

ร่ายสุภาพ
         
           ร่ายสุภาพแต่งเป็นวรรค วรรคละประมาณ ๕ คำ หรือมากกว่านั้น และจะแต่งให้ยาวกี่วรรคก็ได้ แต่สามวรรคสุดท้ายก่อนที่จะจบบทจะต้องมีฉันทลักษณ์เป็นโคลงสองสุภาพเสมอ

         ส่วนการสัมผัสนั้นคำสุดท้ายของวรรคหน้าจะสัมผัสกับคำที่ ๑,๒ หรือ ๓ ของวรรคต่อไปแต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคหน้าส่งสัมผัสเป็นคำเอกหรือคำโท คำที่รับสัมผัสในวรรคต่อไปจะต้องเป็นคำเอกหรือคำโทเช่นเดียวกัน  อ่านต่อ...
โคลงสี่สุภาพ
          โคลงสี่สุภาพ มีลักษณะบังคับ ดังแผนภาพต่อไปนี้

จุดมุ่งหมายในการแต่ง


               นิราศนรินทร์คำโคลงนี้ถูกประพันธ์โดยนายนรินทรธิเบศร์(อิน) เมื่อตามเสด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์เสด็จยกทัพหลวงไปปราบพม่าซึ่งยกลงมาที่เมืองถางและชุมพร โดยเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกล่าวถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นจึงรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านไป ในนิราศนี้มีการคร่ำครวญถึงนางอันเป็นที่รักอยู่เป็นส่วนใหญ่ เช่น อ่านต่อ...

ประวัติผู้แต่งนิราศนรินทร์คำโคลง



ประวัติของนายนรินทร์นั้น ไม่เป็นที่ทราบกันแน่นอน แต่เดิมทีนายนรินทร์มีชื่อว่า "นายทองอินทร์" (อิน) ซึ่งได้รับราชการเป็นมหาดเล็ก ฝ่ายพระรับราชวังบวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร หรือว่า เป็นที่รู้จักกันในนามบรรดาศักดิ์ในสมัยโบราณ นั้นคือ "นายนรินทรธิเบศร์" (อิน) นายนรินทร์เป็นโอรสกรมขุนอินทรพิทักษ์์ (พระราชโอรสพระเจ้ากรุงธนบุรี) กับ หม่อมเจ้าหญิงโสภา (ธิดากรมหมื่นสุนทรเทพ) เมื่อหม่อมเจ้าหญิงโสภาทรงครรภ์นั้น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้กรมขุนอินทรพิทักษ์ยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ตีไม่สำเร็จ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกริ้ว จึงให้หม่อมเจ้าหญิงโสภาไปเป็นภรรยาเจ้าพระยาสวรรคโลก ซึ่งตีเมืองเชียงใหม่ เมื่อทารกเกิดได้ชื่อทองอินทร์ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงเมตตาทองอินทร์เสมอ เมื่อทองอินทร์โตขึ้นให้ไปอยู่ด้วยกับเจ้าพระยาสุรสิห์ อ่านต่อ...

เรื่องย่อนิราศนรินทร์คำโคลง

                  นิราศนรินทร์คำโคลงเริ่มเรื่องด้วยร่ายสุภาพยอพระเกียรติพระมหากษัตริย์ แล้วกว่าถึงความเจริญของบ้านเมือง จากนั้นรำพันถึงการจากนางอันเป็นที่รักและพรรณนาสถานที่ที่เดินทางผ่านไปโดยนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ออกเดินทางจากคลองขุด ผ่านวัดแจ้ง คลองบางกอก (ใหญ่) วัดหงส์ วัดสังข์กระจาย บางยี่เรือ (คลอง) ด่านนางทอง บางขุนเทียน บางบอน บางกก หัวกระบือ โคกขาม คลองโคกเต่า มหาชัย ท่าจีน บ้านบ่อ นาขวาง คลองสามสิบสองคด คลองย่านซื่อแม่กลอง ปากน้ำ (ออกทะเล) บ้านแหลม คุ้งคดอ้อย เพชรบุรี ชะอำ ห้วยขมิ้น ท่าข้าม เมืองปราณ (บุรี) สามร้อยยอด ทุ่งโคแดง (ทุ่งวัวแดง) อ่าวนางรม (อ่าวประจวบ) บางสะพาน ขามสาวบ่าว อู่แห้ง เขาหมอนเจ้า โพสลับ ลับยักษ์ เมืองแม่น้ำ  อู่สะเภา หนองบัว แก่งตุ่ม แก่งคุลาตีอก แก่งแก้ว  อ่านต่อ...


ข้อคิดที่ได้จากนิราศนรินทร์คำโคลง

๑.พระบารมีของพระมหากษัตริย์นั้นเกิดแต่การบำเพ็ญกุศลทั้งในกาลก่อนและกาลปัจจุบัน
๒. ศิลปะการก่อสร้างที่ประณีตงดงาม  ย่อมเป็นสิ่งดลใจให้กวีสร้างสรรค์บทประพันธ์ที่ประณีตไปด้วย
๓. ความห่วงใยหวงแหนอันเนื่องมาจากความรักของมนุษย์ เมื่อเกิดขึ้นกับคนที่มีอารมณ์กวี ย่อมจรรโลงใจให้แสดงออกซึ่งงานสร้างสรรค์บทประพันธ์ที่ประณีตไปด้วย
๔. วรรณคดีนิราศ แม้จะแสดงอารมณ์นึกคิดจินตนาการเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริงบางประการของสังคมไว้ด้วย
๕. คติความเชื่อของอินเดียโบราณ มีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยเป็นอันมาก ความเชื่อ ในเรื่องสวรรค์ คนไทยมีความเชื่อว่าคนที่ทำความดีจะได้ขึ้นสวรรค์ คนทำชั่วจะตกนรก ดังนั้นจึงพยายามสร้างสมแต่สิ่งที่ดีงาม และมักจะเปรียบเทียบว่าถ้าเป็นของดี ของวิเศษ มักจะเปรียบกับของบนสวรรค์ ซึ่งตามความเชื่อของคนไทย สวรรค์แบ่งออกเป็น  ชั้น ดังนี้
     ๕.๑ จตุมหาราชิก เป็นที่อยู่  อ่านต่อ...

คำศัพท์ที่น่าสนใจ

๑.  ศรีสิทธิ์พิศาลภพ เลอหล้าลบล่มสวรรค์  จรรโลงโลกกว่ากว้าง   แผนแผ่นผ้างเมืองเมรุ  ศรีอยุธเยนทร์แย้มฟ้า แจกแสงจ้าเจิดจันทร์ เพียงรพิพรรณผ่องด้าว ขุนหาญห้าวแหนบาท สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน ส่ายเศิกเหลี้ยนล่งหล้า ราญราบหน้าเภริน เข็ญข่าวยินยอบตัว   ควบค้อมหัวไหว้ละล้าว  ทุกไทน้าวมาลย์น้อม  ขอออกอ้อมมาอ่อนผ่อนแผ่นดินให้ผาย ขยายแผ่นฟ้าให้แผ้ว เลี้ยงทแกล้วให้กล้า  พระยศไท้เทิดฟ้า เฟื่องฟุ้งทศธรรม ท่านแฮ
พิศาลภพ         แผ่นดินอันกว้างใหญ่
เลอหล้า            เหนือโลก บนโลก สูงเด่นในโลก
ลบล่มสวรรค์   ลบ = หายไป ล่ม =         อ่านต่อ...